คอมพิวเตอร์กับระบบปฏิบัติการ

9 ก.พ.

คอมพิวเตอร์กับระบบปฏิบัติการ

คอมพิวเตอร์กับระบบปฏิบัติการ

OS ย่อมาจาก Operating System ภาษาไทยก็คือ ระบบปฏิบัติการ ในการทำงานพวกเราจะถือว่า OS เป็นซอฟต์แวร์ตัวหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วคอมพิวเตอร์จะดำเนินการได้นั้นควรจะมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ Hardware, Software, People Ware ถ้าให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ 

  1. มีตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ 

       2.มีโปรแกรม 

  1. มีคนสั่งการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัว Software นั้นถูกผลิตขึ้นมาเพื่อความสบายและง่ายสำหรับการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินงานตามที่เราต้องการ

ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้ 2 จำพวก

  1. Operating System (OS)

คือโปรแกรมที่ปฏิบัติหน้าที่โดยเป็นตัวกึ่งกลางระหว่างคน กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องควรจะมี OS อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังเช่น Windows 98, Windows XP, Windows ME, Windows 2000, Windows Vista, Windows 7 หรือ Linux หรือ Mac OS ฯลฯ

  1. Applications (App)

App คือโปรแกรมใช้งานต่างๆ อย่างเช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft,  PowerPoint, โปรแกรม Anti-Virus ฯลฯ ซึ่งโปรแกรมกลุ่มนี้ที่กล่าวมาอาจจะต้องมีหรือไม่ต้องมีก็ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งเหล่านี้หรือไม่

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องควรจะมี OS หรือระบบปฏิบัติการซึ่งส่วนมากที่พวกเราใช้กันก็อาจจะหนีไม่พ้นพวก Microsoft Windows แต่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหนนั้น ก็แล้วแต่บุคคลซึ่งสามารถเลือกซื้อเลือกลงกันตามความชอบใจ เนื่องจากราคาในแต่ละเวอร์ชั่นนั้นก็มีราคาที่แตกต่างกันมากพอสมควร 

คุณรู้ไหมว่า OS ที่คุณใช้ เป็นเวอร์ชั่นอะไร

รู้ได้ง่ายๆ เพียงแค่เปิดคอมพิวเตอร์ของคุณขึ้นมา เปิดเครื่อง แล้วคลิกที่ My Computer แล้วหลังจากนั้นให้คุณคลิกขวาเลือก Properties และสังเกตแท็ปที่ขึ้นว่า General จะเจอชื่อ Windows พร้อมที่แสดงเวอร์ชั่นที่คุณลงไว้และใช้งานอยู่ ตัวอย่างซอฟต์แวร์หรือ OS เช่น  Windows XP, Windows XP Service Pack 3, Windows Vista ฯลฯ

สำหรับผู้ใช้งาน Windows ทุกคน สิ่งที่ควรทำอยู่เสมอคือหมั่นตรวจติดตามหรือเช็ค Windows สักหน่อยว่ามีการปรับปรุงและมีการอัปเกรดเป็นแบบใหม่ๆ ขึ้นมาบ้างหรือเปล่า อย่างเช่น Windows XP มี Service Pack 3 เกิดขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้คุณยังคงใช้ Windows XP Service Pack 1, หรือ Service Pack 2 อยู่ สิ่งที่จะแนะนำหรือจะเสนอแนะ ก็คือ ให้คุณรีบกดอัปเกรดได้แล้ว เพราะว่าสิ่งที่เราอัปเกรดขึ้นมานั้น ผ่านการปรับปรุงมาล่าสุดเพื่อซอฟต์แวร์ของคุณแล้ว หากอัปเกรดจะทำให้ระบบ security ที่มีความสมดุลมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

ระบบปฏิบัติการแบบใหม่ๆ

ระบบปฏิบัติการ Windows แบบใหม่ๆ อย่างเช่น Windows Vista, Window 7 ฯลฯ ถึงแม้ว่าจะเป็นรุ่นใหม่แต่ก็จะพบว่าระบบปฏิบัติการเหล่านั้นก็จำเป็นที่จะต้องมีการอัปเกรดให้นำสมัยอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน

ระบบปฏิบัติการที่น่าจับตาดู

คุณเคยได้ยินชื่อต่อไปนี้ไหม Google Chrome OS เป็นระบบปฏิบัติการแบบใหม่ที่ปรับปรุงโดย Google ที่ออกแบบระบบมาให้ใช้กันแบบฟรีๆ หากท่านใดสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Google Chrome OS ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่

9 ธ.ค.

ที่หน้า IP Address Range

ที่หน้า IP Address Range กำหนดช่วงไอพีแอดเดรสที่ให้ DHCP จ่ายสู่เครื่องต่างๆ

Start IP address ค่าเริ่มต้นของช่วงไอพีแอดเดรสที่กระจายให้กับเครื่อง DHCP ไคลเอนต์บนระบบ

End IP address ค่าสุดท้ายของช่วงไอพีแอดเดรสที่จะส่งให้กับเครื่อง DHCP ไคลเอนต์บนระบบ

Length จำนวนบิตที่ใช้ในการแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) ซึ่งจะใช้จำนวนบิตสำหรับ Network ID และ Host ID (ค่าเริ่มต้นคือ 24 บิต)

Subnet mask ค่าแอดเดรส Subnet mask ในแต่ละคลาสของ IP และค่าของเครือข่ายย่อย ปกติจะใช้งานคลาส C ก็จะมีค่าเป็น 255.255.255.0จากนั้นคลิกปุ่ม Next

ที่หน้า Add Exclusions and Delay

เป็นการกันไอพีแอดเดรสที่อยู่ในช่วงของ IP Address Range (จากข้อ 5 คือ 70 – 250) เอาไว้ไม่จ่ายให้เครื่องใด กันเอาไว้สำหรับเซิร์ฟเวอร์ใช้เองหรืออุปกรณ์บางตัวที่ใช้งาน DHCP ไม่ได้ (เช่น Printer Server, RAS Server ฯ) จากข้อ 5 เราเว้นไอพีแอดเดรสช่วง 1 – 69 เอาไว้แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีการกันอีกก็ปล่อยไว้ จากนั้นคลิกปุ่ม Next

ที่หน้า Lease Duration

กำหนดระยะเวลาที่ไคลเอนต์สามารถใช้ไอพีแอดเดรสนี้ได้ โดยกำหนดเป็น วัน ชั่วโมง และนาที และคลิกปุ่ม Next

ที่หน้า Configuration DHCP Options

จะถามว่าต้องการกำหนด DHCP Option เพิ่มเติมหรือไม่ เช่น ไอพีแอดเดรสของเราเตอร์ DNS Server และ Wins Server ให้เลือก Yes, I want to configure these options now เพื่อเข้าไปกำหนดตอนนี้ และคลิกปุ่ม Next

ที่หน้า Router (Default Gateway)

เป็นการกำหนดไอพีแอดเดรสของเราเตอร์หรือ Default Gateway (เพื่อให้ระบบปฏิบัติการ Windows NT รุ่นเก่า หรือไคลเอนต์ที่ใช้ LAN Manager ซึ่งเชื่อมต่อเข้าเซิร์ฟเวอร์โดย NetBEUI สามารถเข้ามาใช้งานทรัพยากรของ NetBIOS ได้ โดยมีการแปลง NetBEUI ไปเป็น TCP/IP หรือ IPX ที่เครื่อง RAS Server เข้าใจได้ ทำให้ไคลเอนต์สามารถเข้าใช้ไฟล์ และเครื่องพิมพ์ของ Netware ได้) ในตัวอย่างใช้ 192.168.1.1 จากนั้นคลิกปุ่ม Next

ที่หน้า Domain Name and DNS Servers

เป็นการกำหนดชื่อ Parent domain คือ ชื่อโดเมนหลัก (siam2019.com) เพื่อนำไปใช้ตั้งชื่อโดเมนให้ไคลเอนต์ที่อยู่ภายใต้ และไอพีแอดเดรสของ DNS Server ซึ่งจะทำหน้าที่ DNS จับคู่ไอพีแอดเดรสที่จ่ายในไคลเอนต์แล้วแปลงให้เป็นชื่อโดเมน เช่น ไคลเอนต์ชื่อ Account1 เมื่อรับไอพีแอดเดรส 192.168.1.80 ก็จะถูก DNS จับคู่แปลงเป็นชื่อ Account1.siam2019.com

Parent domain ระบุชื่อโดเมนของโดเมนหลัก ตัวอย่างเช่น Siam2019.com

IP Address กำหนดไอพีแอดเดรสของเครื่อง DNS Servers (หรือใส่ Server name และคลิก Resolve เพื่อแปลงเป็นไอพีแอดเดรส) สำหรับให้เครื่องไคลเอนต์เข้ามาสอบถามข้อมูลจากนั้นคลิกปุ่ม Next

ที่หน้า WINS Servers

เป็นการกำหนดไอพีแอดเดรสของ WINS Servers ซึ่งทำหน้าที่จับคู่ไอพีแอดเดรสกับชื่อคอมพิวเตอร์แบบ NetBIOS เช่น ไอพีแอดเดรส 192.168.1.39 กับ Aries สำหรับเครื่องที่ใช้ซอฟต์แวร์รุ่นเก่าที่ยังใช้ WINS จากนั้นคลิกปุ่ม Next

ที่หน้า Activate Scope

เป็นการยืนยันว่าให้เริ่มจ่ายไอพีแอดเดรสตามช่วงที่กำหนดไว้เดี๋ยวนี้หรือไม่ ให้เลือก Yes, I want to activate this scope now เริ่มเดี๋ยวนี้ และคลิกปุ่ม Nextสิ้นสุดการกำหนดค่า ให้คลิกปุ่ม Finish จบการกำหนดค่า

ที่เครื่องมือ DHCP ให้คลิกที่ IPv4 จะแสดงสโคปในการจ่ายไอพีแอดเดรสภายในโดเมน siam2019.com